Impeller Types
 
 
กลุ่ม Radial flow  
ใบกวนประเภทนี้จะผลักของเหลวออกในแนวรัศมี หรือในแนวตั้งฉากกับแกนเพลา เหมาะสำหรับการเฉือนของเหลวที่ไม่ผสมกันเป็นเนื้อเดียวให้มีขนาดเล็กลง หรือการลดขนาดของของแข็งเพื่อให้แขวนลอยอยู่ในของเหลวได้เป็นเวลานานๆ โดยทั่วไปแล้วที่เส้นผ่านศูนย์กลางใบและความเร็วรอบที่เท่ากัน กลุ่ม radial flow จะกินกำลังงาน (power) มากกว่ากลุ่ม axial flow ดังนั้นจึงเหมาะกับงานเฉพาะทางดังกล่าวข้างต้น ไม่เหมาะสำหรับใช้ในกรณีทั่วไป ประกอบด้วย

 

 









Radial flow
Turbine disc หรือ Rushton turbine
Concave blade disc หรือ Concave blade turbine
Bar disc
Saw disc or Saw tooth
Rotor stator
   
   
   
 
Turbine disc หรือ Rushton turbine ใบที่ให้ radial flow ในยุคแรกๆ ข้อดีคือให้อัตราเฉือนและอัตราการไหลพอสมควร รวมทั้งสามารถใช้กับขบวนการทางเคมีที่มีการแลกเปลี่ยนมวล (mass transfer) โดยใช้แก๊ส (aeration process) เนื่องจากมีแผ่น disc ตรงกลางใบคอยป้องกันไม่ให้แก๊สหลุดออกไปจากของเหลวได้ง่าย รวมทั้งมีใบด้านข้างคอยเฉือนแก๊สให้มีขนาดเล็กลงด้วย แต่มีข้อเสียคือกินกำลังงานมาก  
 



 
 
Concave blade disc หรือ Concave blade turbine บางครั้งเรียกว่า Smith impeller กล่าวเฉพาะขบวนการใส่แก๊สเข้าไปในของเหลวสำหรับใบชนิดนี้เมื่อเปรียบเทียบกับ Turbine disc โดย Turbine disc ประกอบด้วยแผ่นแบนติดตั้งฉากกับแผ่นกลม (disc) จึงทำให้อุ้งแก๊สได้น้อย แก๊สมีโอกาสท่วมใบ (flooding ) มาก ดังนั้น Smith impeller จึงเปลี่ยนมาใช้ใบในลักษณะครึ่งวงกลมหรือวงรีทำให้อุ้งแก๊สได้มาก รวมทั้งกินกำลังงานน้อยกว่าด้วย  
 



 
 
Bar disc ใบชนิดนี้จะให้แรงเฉือนที่มากกว่าใบ Turbine disc แต่กินกำลังน้อยกว่ามาก แต่ก็ให้อัตราการไหลที่น้อยมาก เหมาะสำหรับการใช้คู่กับใบ axial flow ที่ให้อัตราการไหลเพิ่มขึ้น และใบ Bar disc ให้อัตราเฉือนอย่างเดียว  
 



 
 
Saw disc or Saw tooth เป็นใบ radial flow อีกชนิดหนึ่งที่ใช้กันมานาน โดยในยุคแรกๆ นักวิทยาศาสตร์ใช้แผ่นกลมเรียบๆมาให้อัตราการเฉือน ซึ่งเรียกว่า Plain disc ต่อมาสังเกตพบว่าแผ่นกลมเรียบนี้ให้อัตราการไหลน้อยมาก จึงนำแผ่นกลมมาบากและดัดเป็นฟันขึ้นลงคล้ายใบเลื่อยจึงเรียกว่า Saw disc ใบชนิดนี้ให้แรงเฉือนมากที่ความเร็วรอบสูง และให้อัตราการไหลพอสมควร โดยจะพบในอุตสาหกรรมสีเป็นหลัก  
 



 
 
Rotor stator สำหรับการใช้งานที่ต้องการอนุภาคแขวนลอยในระดับที่เล็กมากเป็น ไมครอน (micron) ใบกวนที่ใช้จะต้องมีอัตราการเฉือนสูงมาก โดยหลักการแล้วถ้าของเหลวถูกบังคับให้วิ่งผ่านช่องแคบเล็กๆที่ความเร็วสูงมาก ของเหลวนั้นจะถูกเฉือนจนมีขนาดอนุภาคเป็นไมครอน โดย Stator ตัวอยู่กับที่จะทำเป็นกรงที่มีรูให้ของเหลววิ่งผ่าน ส่วน Rotor ตัวหมุนเป็นใบกวนที่มีหลายแฉกและอยู่ห่าง Stator น้อยมากเพียง 0.75 – 3.00 mm หรือน้อยกว่า หมุนด้วยความเร็วรอบสูงมากราว 2,800 – 7,500 รอบ คอยดันของเหลวให้วิ่งผ่านช่องแคบๆระหว่าง Rotor กับ Stator ของเหลวหรือของแข็งที่ได้จึงมีขนาดอนุภาคเล็กมากดังกล่าวแล้ว  
 
 
 
Copyright (c) 2006 wellman.co.th