|
|
|
Design
Data for Mixing Vessel and Agitator |
|
|
|
|
|
|
ถังผสม (Mixing vessel
or tank)
การกำหนดสัดส่วนและรูปร่างของถังมีความสำคัญกับการกวนมาก
สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงประเภทการกวน (mixing categories)
เป็นแบบ blending การผสมของเหลวให้เข้ากัน หรือแบบ
suspension การผสมของแข็งให้เข้ากับของเหลว ซึ่งต้องใช้ใบกวนที่ให้
axial flow ส่วนแบบ emulsion การผสมของเหลวที่ไม่เข้ากัน
โดยการเฉือนให้ droplet ของของเหลวชนิดหนึ่งแขวนลอยในอีกชนิดหนึ่ง
หรือแบบ dispersion การเฉือนให้ของแข็งมีขนาดเล็กลงและแขวนลอยอยู่ในของเหลว
ซึ่งต้องใช้ใบกวนแบบ radial flow โดยถังสำหรับใบกวนแบบ
axial flow ควรมีสัดส่วนความสูงของของเหลวให้มากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางถังราว
20% หรือ 1.2 : 1.0 ทั้งนี้เพราะใบแบบ axial flow
สามารถดันของเหลวให้ขึ้นสูงในแนวดิ่งได้มากกว่าแนวนอน
หากสัดส่วนของของเหลวในถังมากกว่านี้ก็จะต้องเพิ่มจำนวนชั้นของใบให้มากขึ้น
ส่วนถังสำหรับใบกวนแบบ radial flow ควรกำหนดให้สัดส่วนความสูงของของเหลวในถังน้อยกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางถังราว
20% หรือ 0.8 : 1.0 ทั้งนี้เพราะใบแบบ radial flow
จะผลักของเหลวออกในแนวรัศมีทำให้ของเหลวถูกดันขึ้นในแนวสูงได้น้อย
ถ้าเรากำหนดสัดส่วนถังไม่ถูกต้อง ของเหลวอาจไม่สามารถดันขึ้นไปบนผิวหน้าของของเหลวได้
ทำให้การกวนไม่ทั่วถึง
การกำหนดรูปร่างของก้นถัง (ฺbottom Shape ) ก็มีส่วนสำคัญกับการกวนมากเช่นกัน
โดยปกติก้นถังที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกวนเป็นแบบทรงโค้ง
(dish shape) โดยเฉพาะแบบ Torispherical dish ซึ่งมีรัศมีความโค้งเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางถัง
ทั้งนี้เพราะก้นถังไม่ลึกมากจนเกินไป สำหรับแบบก้นแบน
(flat shape) ให้ประสิทธิภาพการกวนดีกว่าแบบกรวย (conical
shape) แต่เนื่องจากโดยปกติแล้วแบบก้นแบนจะไม่สามารถถ่ายเทของเหลวจนหมดได้
จึงได้ปรับให้เป็นแบบก้นเอียง (slope shape) ซึ่งควรมีมุมที่ทำกับแนวนอนไม่เกิน
5° ถ้าหากมุมของก้นเอียงมากเกินไปก็จะเกิดจุดอับ
(dead spot) ที่ตรงจุดเอียงต่ำสุด ทำให้เวลาการกวนนานขึ้นหรืออาจกวนเข้ากันไม่ได้
รวมทั้งอาจเป็นที่รวมของของแข็งได้ สำหรับก้นถังรูปกรวยควรมีมุมเอียงที่ขอบก้นถังทำกับแนวนอนไม่เกิน
15° ทั้งนี้เพราะที่ความเอียงที่มากกว่านี้จะทำให้ของเหลวไม่สามารถพลิกกลับขึ้นด้านบนได้
ทำให้การกวนผสมไม่เข้ากัน
|
|
|
|
|
|
|